วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่9 เรื่อง วงจรระบบจัดการความรู้



การแบ่งปันและสร้างความรู้ จาก Tacit Knowledge ไปสู่ Tacit Knowledge          โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของผู้ที่สื่อสารระหว่างกัน
   Externalization
การสร้างและแบ่งปันความรู้จากการแปลง Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge  โดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
   Combination
การแบ่งปันและสร้างความรู้ จาก Explicit  Knowledge ไปสู่ Explicit Knowledge   โดยรวบรวมความรู้ประเภท Explicit ที่เรียนรู้ มาสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit ใหม่ๆ
   Internalization
การแบ่งปันและสร้างความรู้ จาก Explicit Knowledge ไปสู่ Tacit Knowledge โดยมักจะเกิดจากการนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฏิบัติจริง
การเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ที่วนเวียนในลักษณะอย่างนี้ไปเรื่อยๆอยู่ตลอดเวลาดังแสดงในรูปข้างบนนั้นท้ายที่สุดความรู้จะอยู่ที่ตัวคน Tacit Knowledge  เรียกวงจรสร้างความรู้นี้ว่า    SECI  Model  (อ่านออกเสียงในลักษณะภาษาญี่ปุ่น)  

       องค์ประกอบสำคัญของวงจรสร้างความรู้ 
     1.คน ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจาก
- เป็นแหล่งความรู้
- เป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
    2.เทคโนโลยี  เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บแลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น
     3.กระบวนการความรู้   เป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรม
คุณค่าของ “ความรู้”
“ความรู้เป็นสินทรัพย์ใช้แล้วไม่มีวันหมด  ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม ยิ่งใช้มากเท่าไร ยิ่งมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น”
  ความหมายการจัดการความรู้ 
The World Bank : เป็นการรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กรและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การสร้าง การนำมาใช้ และเผยแพร่ความรู้และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
European Foundation for Quality Management (EFQM): วิธีการจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์และกระบวนการในการ จำแนก จัดหาและนำความรู้มาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
The US Department of Army : การจัดการความรู้เป็นแผนการที่เป็นระบบและสอดคล้องกันในการ จำแนก บริหารจัดการ และแลกเปลี่ยนสารสนเทศต่างๆ ซึ่งได้แก่ฐานข้อมูล เอกสาร นโยบายและขั้นตอนการทำงานรวมทั้งประสบการและความชำนาญต่างๆ ของบุคคลากรในองค์กร  โดยเริ่มจากการรวบรวมสารสนเทศและประสบการณ์ต่างๆ ขององค์กร เพื่อเผยแพร่ให้พนักงานสามารถเข้าถึงและนำไปใช้
ก.พ.ร. : การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์การมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
การจัดการความรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น