วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่2 เรื่อง องค์กรและระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ การรวบรวมประมวลผลกลั่นกรองข้อมูลต่าง ๆ ให้น่าเชื่อถือและสามารถนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วไปใช้ประกอบกับการตัดสินใจ เพื่อช่วยในการสรุปผลในเชิงบริหารขององค์กรได้ ระบบสารสนเทศประกอบด้วย
  • ข้อมูล คือ ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล
  • บุคลากร คือ ผู้ที่จะนำข้อมูลดิบที่ได้ไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน คือ ขั้นตอนการนำข้อมูลไปประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  • ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ
  • ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผลสารสนเทศให้ได้ตามความต้องการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวบรวม การจัดเก็บ การประมวลผล และการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีระบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากต่อองค์กร
ส่วนระบบสารสนเทศ (Information System: IS) คือ ระบบงานที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาทำหน้าที่ในการรวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุดในการสนับสนุนในการบริหารและการตัดสินใจขององค์กร

เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล(Digital Economy)

เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล (Digital economy) หมายถึง การใช้ระบบเว็บเบสบน อินเตอร์เน็ต และเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล ยังอาจเรียกว่า Internet economy, New economy หรือ Web economy (content providers)[1]


คุณสมบัติและลักษณะเด่นของเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลประกอบด้วย

  • การติดต่อสื่อสารสามารถทำงานร่วมกันได้จากทุกๆ ที่ในโลก
  • ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นทีวีไปจนถึงโทรศัพท์ และอุปกรณ์ที่เป็นระบบอนาลอกต่างๆ ถูกรวมเข้าในรูปแบบดิจิทัล
  • ทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีความรวดเร็วขึ้น
  • ตลาดในสถานที่จริงได้ถูกแทนที่ด้วยตลาดบนอินเตอร์เน็ต
  • องค์กรจำนวนมากกำลังพยายามเปลี่ยนสถานะตัวเองให้เป็นดิจิตัลเต็มรูปแบบ
===ดิจิทัลออแกนไนเซชัน เป็นรูปแบบการจัดการองค์การสมัยใหม่โดยใช้ระบบดิจิตอลในการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การ และช่วยให้องค์การสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การนำระบบคอมพิวเตอร์มาในงานโรงพยาบาลอย่างเต็มรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฏร ที่ได้นำระบบ และระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการยืนยันตัวตนผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการระบุตัวของผู้ป่วย ทำให้ระบุผลการตรวจได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจรักษา ทางโรงพยาบาลได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์โรคของแพทย์และ แพทย์สามารถค้นหาประวัติผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและสามารถดูประวัติการรักษาผู้ป่วยในอดีตได้

รูปแบบทางธุรกิจ(Business Model)

รูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) หมายถึง กระบวนการในการดำเนินธุรกิจที่ทำให้บริษัทมีรายได้และผลกำไรเพื่อทำให้บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) นี้ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของบริษัท ตัวอย่างเช่น สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี เช่น ช่อง 3 7 9 5 และ 11 มีปัจจัยของความอยู่รอดของธุรกิจขึ้นอยู่กับรูปแบบทางธุรกิจที่ซับซ้อน เช่น การโฆษณา ผู้จัดหาเนื้อหา (content providers)

การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในองค์กร(Adaptive Enterprise)

เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่นำมาใช้งานในองค์กร เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

โมบายคอมพิวติง(Mobile Computing) และเอ็มคอมเมิรซ์(M-Commerce)[แก้ไข]

โมบายคอมพิวติง (Mobile Computing) เป็นลักษณะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น notebook โทรศัพท์มือถือ PDA เป็นต้น
เอ็มคอมเมิรซ์ (M-Commerce) เป็นลักษณะการทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยอุปกรณ์ไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, pocket pc เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น